วัยสูงอายุ


การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย

การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายโดยทั่วไปของวัยนี้จะเป็นไปในทิศทางของความเสื่อม อย่างไรก็ตามจะมีความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นอย่างมากในสภาพในสภาพของความเสื่อมแม้แต่ในคนเดียวกันก็ยังมีความแตกต่างในอัตราของความเสื่อมของอวัยวะต่าง ๆ ดั้งนี้

1.1 โฉมภายนอก มีการเปลี่ยนแปลงตามวัยเช่น ผิวหนังเหี่ยวย่นมีจุดตกกระเพิ่มขึ้น ผมจะบางและจะเปลี่ยนเป็นสีเทาหรือสีขาว หลังโกง การเคลื่อนไหวเชื่องช้า พละกำลังน้อยลง

1.2 อวัยวะเกี่ยวกับการรับความรู้สึก ดูเหมือนหน้าที่ได้รับความรู้สึกจะเป็นอวัยวะหนึ่งที่เสื่อมเป็นอันดับแรกในระยะเริ่มชรา ผนังเส้นโลหิตแดงในหูจะแข็งตัวทำให้ได้ยินเสียงไม่ชัดเจน เสียงที่มักไม่ได้ยินก่อนคือเสียงแหลมหรือเสียงที่มีความถี่สูง

1.3 เสียง การเปลี่ยนแปลงของเสียงมีสาเหตุหนึ่งมาจากการแข็งตัวและการขาดความยืดหยุ่นของกระดูกอ่อนบริเวณกล่องเสียงทำให้มีน้ำเสียงสูงแต่ไม่มีพลังและเปลี่ยนแปลงได้น้อย

1.4 ฟัน ฟันธรรมชาติในผู้สูงอายุจะเปลี่ยนไป โดยเฉพาะส่วนมากมักจะมีเหงือกร่น รากฟันโพล่พ้นขอบเหงือก  ซึ่งอาจทำให้มีอาการเสียวหรือผุได้ง่า

1.5 ภาวะสมดุลร่างกาย (homeostasis) โดยปกติร่างกายของมนุษย์จะพยายามปรับอุณหภูมิและสภาพทางชีวเคมีให้เกิดความสมดุลตลอดเวลา

1.6  ระบบประสาท เซลล์ประสาทจะมีอายุได้นาน แต่เมื่อมีอาการเสื่อมสลายแล้ว จะไม่มีการแทนทีใหม่ อัตราการเสื่อมสลายหรือการตายของเซลล์ประสาทโดยเฉลี่ยมีประมาณ 1 ต่อปีหลังอายุ 50 ปีไปแล้ว

1.7  กระดูกกระดูกในผู้สูงอายุและผุกร่อน เป็นผลให้กระดูกหักได้ง่าย

1.8  กล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อจะเล็กและลีบลง จะมีไขมันเข้าไปแทรกในกล้ามเนื้อ

1.9  ระบบทางเดินอาหาร อาหารที่ทานเข้าไปจะย่อยและดูดซึมได้ช้าลง

1.10  ระบบการไหลเวียนโลหิต ผนังเส้นโลหิตแดงแข็งและขาดความยืดหยุ่น


การเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์

โดยธรรมชาติแล้ว วัยสูงอายุเป็นวัยที่มีความสงบเยือกเย็น หมดความกระตือรือร้นในชีวิตเป็นวัยที่ต้องการความสงบ ต้องการพักผ่อน แต่สภาพสังคมในปัจจุบันผู้สูงอายุต้องเชิญกับเหตุการณ์ที่บีบคั้นประสาทและจิตใจมากขึ้น จึงเป็นสิ่งที่ควรทราบเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจของคนวัยนี้ วัยนี้เป็นวัยที่ต้องปรับตัวต่อโลกภายนอกและปรับตัวต่อการสูญเสียตามวัย เช่น สูญเสียความสามารถทางร่างกาย สูญเสียมรรควิธีในการปลดปล่อยแรงขับพ้นฐาน สูญเสียในวัฒนธรรมที่สนใจแต่อนาคตของคนหนุ่มสาว ผู้สูงอายุมักหวาดกลัวความเจ็บไข้ได้ป่วย กลัวความตาย กลัวความสูญเสียเพื่อน ฉะนั้นจึงเป็นการยากที่จะให้ผู้สูงอายุเหล่านี้แสดงความแจ่มใสร่าเริงเป็นนิจสินได้ในเมื่อจิตใจของเขาเต็มไปด้วยความวิตกกังวล นอกจากนี้ผู้สูงอายุมักจะยึดถือตนเองเป็นส่วนใหญ่นิยมชมชอบแต่เรื่องและความคิดสมัยตนเอง จึงทำให้เข้ากับวัยอื่น ๆ ได้ยากโดยเฉพาะกับวัยรุ่น ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ผู้สูงอายุเกิดความอ้างว้าง ยิ่งถ้าถูกทอดทิ้ง หรือปล่อยให้อยู่ตามลำพังสามีภรรยา เพราะลูกหลานต่างแยกย้ายไปมีครอบคัวหรือไปประกอบอาชีพตามความถนัด พัฒนาการด้านอารมณ์ของผู้สูงอายุจะขึ้นอยู่กับลักษณะและรูปแบบที่เป็นมาตั้งแต่เดิมของบุคลิกภาพจะยังคงไว้ได้ รูปแบบบุคลิกที่มนุษย์ปรับตนเองเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุแบ่งได้ดังนี้

     1. บุคลิกแบบผสมผสาน (integrated)   เป็นลักษณะของบุคคลที่ยังรักษาความเป็นตัวของตัวเองได้เสมอ พอใจในชีวิตที่ผ่านมาและพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ยอมรับสภาพความจริงและบังคับตัวเองได้ ปรับตัวให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม

     2.บุคลิกแบบต่อต้าน (armoured หรือ defended) เป็นลักษณะของความสูงอายุที่พยายามต่อสู้กับความเสื่อมถอยหวาดหวั่นของชีวิตแบบเป็นลักษณะต่าง ๆ

     3.บุคลิกภาพเฉยชาและพึ่งพาบุคคลอื่น กลุ่มนี้ต้องการให้ความต้องการทางอารมณ์ของตนได้รับการตอบสนอง รู้สึกว่าตนเองไม่สามารถช่วยตนเองได้ถ้าปราศจากผู้ช่วยเหลือ

     4.บุคลิกภาพแบบการผสมผสาน (unintegrated or disorganized) จะมีความเสื่อมทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ขาดการควบคุมอารมณ์ แสดงออกถึงความบกพร่องทางด้านความคิดอ่านและภาวะจิตใจอย่างเห็นได้ชัด จะยังคงอยู่ในสังคมได้ แต่จะมีพฤติกรรมและความพึ่งพอใจต่อชีวิตอยู่ในระดับต่ำ

 

การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม

การเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการใช้ชีวิตทางสังคมของคนวัยนี้คือ การมีเวลาว่างมากขึ้นทำให้สามารถกระทำกิจกรรมเพื่อการพักผ่อนหยอนใจได้มากขึ้น เช่น การเดินทางท่องเที่ยว การปลูกต้นไม้ เข้ากลุ่มศึกษาและปฏิบัติธรรม เป็นต้น แต่จะมีข้อจำกัดในการมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น เนื่องจากบทบาททางสังคมลดลง เช่น การหยุดประกอบอาชีพ การตายของญาติ เพื่อนฝูงคู่สมรส และการเสื่อมของสุขภาพ ประกอบกับวัยสูงอายุจะมีความสนใจตนเองเพิ่มขึ้น จะสนใจบุคคลอื่นลดลง ในวัยนี้อาจจะมีการย้ายที่อยู่ด้วยเหตุผลต่าง ๆ กันบางคนอาจจะรู้สึกว่าบ้านที่อยู่ปัจจุบันนี้หลังใหญ่ไป ทำความสะอาดลำบาก บางคนก็ขายบ้านแล้วย้ายไปอยู่ใกล้ ๆ กับลูกคนใดคนหนึ่ง บางคนก็ย้ายออกไปอยู่ในสถานที่อากาศดีกว่าเดิม หรือย้ายไปอยู่ที่สถานสงเคราะห์คนชรา การย้ายที่อยู่ต้องการปรับตัวเสมอ ผู้สูงอายุต้องเรียนรู้อาศัยในการอาศัยอยู่ในเมืองใหม่j
         ผู้สูงอายุที่ไม่ได้อาศัยอยู่บ้าพักคนชรา มักต้องอาศัยลูกหลานเกื้อกูล ยิ่งอายุเพิ่มมากขึ้นก็ต้องพึ่งพิงครอบครอบมากขึ้นด้วย  ความสัมพันธภาพกับบุตรหลานจะราบรื่นหรือไม่ขึ้นอยู่อย่างมากกับสัมพันธภาพที่เขาให้กับลูกเมื่อลูกยังเล็ก ถ้าสัมพันธภาพเคยเป็นมาแล้วด้วยดีก็ไม่สู้จะยากลำบากมากนัก ภาวะการเป็นหม้ายพบได้เสมอในวัยผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในสตรี เนื่องจากชายมักอายุสั้นกว่าหญิง การปรับตัวต่อการตายของคู่สมรสนั้นยากเป็นพิเศษในวัยสูงอายุ



การเปลี่ยนแปลงทางด้านสติปัญญา

         เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ สมองฝ่อและมีน้ำหนักลดลง มีเลือดมาเลี้ยงสมองน้อยลง เซลล์ประสาทตายเพิ่มขึ้นและจำนวนเซลล์ลดลงตามอายุ ทำให้สมองเสื่อม ความจำเสื่อมโดยเฉพาะความจำในเหตุการณ์ปัจจุบัน (recent memory) และความจำเฉพาะหน้า (immediate memory) แต่ความจำในอดีต (remote memory) จะไม่เสีย (ศรีธรรม, 2535)  แต่การประสานงานระหว่างประสาทสัมผัสกับความคิดอ่านจะเชื่องช้าลง ผู้สูงอายุจึงมีประสิทธิภาพในอันที่จะใส่ใจต่อสิ่งเร้าไม่ไวหรือดีเท่าคนอายุน้อย และมีลักษณะความคิดไม่ยืดหยุ่น การแก้ปัญหาของผู้สูงอายุมีแนวโน้มที่จะให้ความสนใจกับสิ่งที่ไม่ใช่ข้อมูล หรือส่วนที่ไม่ตรงเป้าหมายของปัญหานั้นๆ

     ผู้สูงอายุมีความยุ่งยากลำบากในการทำความเข้าใจกับสิ่งที่จะต้องเรียน และบกพร่องในด้านที่จะเก็บข้อมูลไว้ในความจำระยะสั้นให้ยาวนานเพียงพอ เพื่อฝังรอยเป็นความจำถาวร การให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่คุ้นเคยให้ช่วงเวลาที่เหมาะสมเพื่อทำความเข้าใจกับข้อมูลจะช่วยได้มาก จะเห็นว่าผู้สูงอายุมักหันมาสนใจทางศาสนา

 

 

 

 

อ้างอิง : หนังสือสุขศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551